คำสอนของพุทธศาสนาต่างจากศาสนาอื่น คือ คำสอนของศาสนาอื่นนั้นเป็นคำสั่งที่ต้องทำตาม ใครไม่ทำตามจะถูกทำโทษจากเทพเจ้า แต่คำสอนของพุทธศาสนานั้นเป็นเพียงการนำกฏธรรชาติมาบอก….เท่านั้น
พระพุทธเจ้าไม่ใช่ผู้สร้างกฏหรือผู้บังคับผู้คนให้ต้องทำตามกฏ พระองค์เป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งที่เพียรพยายามจนเกิดความรู้แจ้งในกฏธรรมชาติว่า สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นมีอะไรเป็นสาเหตุ ( เช่น อยากร่ำรวยต้องทำอย่างไร?) และทรงรู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะหลุดพ้นไปจากกฏเกณฑ์ทั้งปวงของธรรมชาติได้
ศาสนาพุทธมิใช่ว่าปฏิเสธเรื่อง”พระผู้สร้าง” แต่ไม่ให้ความสำคัญและไม่ใส่ใจที่จะไปศึกษาในเรื่องนั้น เพราะเล็งเห็นว่า ถ้าไปหมกมุ่นอยู่กับ"ผู้สร้าง"มากเกินไป ก็จะก่อให้เกิดโทษภัยเสียมากกว่า เพราะย่อมไม่มีใครยอมใครอย่างแน่นอน ( ตีกันตายเพราะเรื่องนี้..กันซะเท่าไหร่แล้ว???)
ศาสนาพุทธศึกษาแต่ในประเด็นว่า ทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นไปจากกฏเกณฑ์ทั้งปวงได้ ไม่ต้องยอมสยบอยู่กับอำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น ....แล้วในที่สุด พระพุทธเจ้าก็ทรงค้นพบวิธีการนั้น นั่นก็คือ..การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่สามารถปฏิบัติให้เห็นผลได้จริงในชาติปัจจุบัน..โดยไม่ต้องอาศัยความเชื่อ สามารถเห็นผลได้ด้วยตนเองในชาตินี้ ..ไม่ต้องรอให้ตายเสียก่อน....
สรุปว่า .....ศาสนาพุทธ มิใช่ศาสนาแห่งผู้สร้าง
.....แต่...เป็นศาสนาแห่งพระผู้แก้ ( แก้ทุกข์...ให้ถึงสุขอันถาวร)
พระพุทธเจ้าเปรียนเหมือนหมอผ่าตัดผู้ป่วยที่ถูกลูกศรปักอก หมอไม่จำเป็นต้องใส่ใจว่าคนยิงเป็นใคร ทำไมคนร้ายจึงยิง หมอทำหน้าที่เพียงเร่งผ่าตัดช่วยชีวิตให้เร็วที่สุด ....แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมให้ผ่าตัด โดยตั้งเงื่อนไขว่า “ต้องหาคนยิงให้ได้ก่อน ..เขาหน้าตาเป็นอย่างไร? ผู้หญิงหรือผู้ชาย...ต้องให้เขาบอกเหตุผลที่ยิงให้ได้ก่อน...ผมจึงจะยอมให้หมอผ่าเอาลูกศรออก” ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็รับรองได้ว่า “ผู้ป่วยตายแหง๊แก๊!!!!???”
พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า
“ สัตว์ทุกชีวิตเคยเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน(1) ผู้ที่ไม่เคยเกิดเป็นพ่อแม่กันมาก่อนหาได้ยาก(2) บางชาติเกิดเป็นเทวดา บางชาติเป็นมนุษย์ บางชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน บางชาติเกิดเป็นเปรต/อสุรกาย บางชาติต้องตกนรก ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ตามอำนาจบุญและบาปที่ตนเองได้ทำไว้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เราประสบอยู่ทุกวันนี้ไม่มีคำว่าโชคหรือบังเอิญ ทุกอย่างเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของเราในอดีตทั้งสิ้น(3)
......อ้างอิง...ดูรายละเอียดใน พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงการราชิวิทยาลัย (เล่มที่ / หน้าที่ )
1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๒๓ 2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๒๗ 3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๕๐-๓๖๕
ถาม. วิปัสสนาคืออะไร? ทำไมต้องปฏิบัติ?
ตอบ. วิปัสสนา แปลว่า เห็น(รู้อย่างเข้าใจ)แจ่มแจ้งในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อาการที่เคลื่อนไหว ใจที่คิด เป็นต้น เป็นวิธีการปฏิบัติที่จะนำกายและใจ ของผู้ปฏิบัติให้เข้าถึงสภาวดับ สงบ เย็น(นิพพาน)ได้(1) ถ้าต้องการสุขแท้ สุขถาวร ที่ไม่กลับมาทุกข์อีกก็ต้องดำเนินไปตามหนทางนี้เท่านั้น ไม่มีทางอื่น
ความรู้สึกของผู้ปฏิบัติหลายท่าน คิดว่า “การปฏิบัติสมถกรรมฐาน ดีกว่า วิปัสสนากรรมฐาน เพราะสมถฝึกแล้วทำให้เหาะได้ รู้ใจคนอื่นได้ เสกคาถาอาคม ได้ ส่วนวิปัสสนาทำไม่ได้” แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานก็ยังเป็น เพียงปุถุชนที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภูมิ หาที่สุดของภพชาติไม่ได้ ยังต้อง ตกอบายทรมานในนรกอีก ส่วนผู้ปฏิบัติวิปัสสนานั้น ถึงแม้จะเหาะไม่ได้ เสกคาถา ไม่ขลัง แต่ก็เหลือภพชาติเพียงแค่ ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง และตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปก็จะไม่ตกอบายอีกแล้ว ไม่ว่าอตีดจะเคยทำบาปอกุศลไว้มากมายปานใดก็ตาม
…อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ หน้า ๓๐๑
ถาม. ปฏิบัติวิปัสสนาแล้วจะได้รับผลดีอย่างไรบ้าง?
ตอบ. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมีมากมายยากที่จะอธิบายให้เห็นจริงได้ จนกว่าผู้นั้นได้ลงมือปฏิบัติจนได้เห็นผลจริงด้วยตนเอง แต่พอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ดังนี้
๑. ทำให้บรรลุโสดาบันได้ภายใน ๓-๔เดือน ทั้งที่มีเวลาพักถึงวันละ ๗ ชั่วโมง
๒. เมื่อบรรลุโสดาบันแล้ว ถ้าหากต้องการมีฤทธิ์ มีเดช ก็สามารถฝึกสมถกรรมฐานต่อได้เลย จะสำเร็จได้ในระยะเวลาไม่นาน ในขณะที่การปฏิบัติสมถล้วนๆ ต้องใช้เวลาปฏิบัติกันถึง ๒-๓ปี หรือนานกว่านั้น จึงจะได้ผล
|